งดฝึกวันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 2556 เนื่องในวันสงกรานต์

สำหรับวันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 2556 งดฝึก 1 วัน
เนื่องจาก ตึกช้างปิดเนื่องในวันสงกรานต์
สัปดาห์ต่อไปมีการฝึกตามปรกติ

Posted in ข่าวจากโรงฝึก | Leave a comment

ส่งเสริมการฝึกสำหรับผู้หัดใหม่

ขอประกาศอีกครั้งเพราะหลายคนยังไม่ทราบกัน
จาก http://www.ninjutsu.in.th/membersys/newforum/showthread.php?tid=998

ลดค่าฝึกสำหรับผู้ฝึกใหม่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554

เพื่อเป็นการส่งเสริมการฝึกสำหรับผู้ฝึกใหม่
โรงฝึกจะทำการลดค่าฝึกใน เดือนแรก หากชำระเป็นรายเดือนโดยมีรายละเอียดดังนี้
1. สำหรับนร.นศ.ที่ยังอยู่ระหว่างการเรียน ในเดือนแรกลดเหลือ 500 บาท
2. บุคคลทั่วไป ในเดือนแรกลดเหลือ 700 บาท
(โดยค่าใช้จ่ายต่อหนึ่งเดือนคือการฝึกต่อเนื่องเดือนแรกในวันอาทิตย์สี่ครั้งติดต่อกัน
ชำระในวันฝึกครั้งแรก หลังจากนั้นหนึ่งเดือนจ่ายค่าฝึกตามปกติ )ในที่นี้จะเริ่มระบบใหม่ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2554

 

Posted in ข่าวจากโรงฝึก | Tagged | Leave a comment

กลุ่มฝึกหลักสี่ทำการสอนทุกวันพฤหัสบดีตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2556 เป็นต้นไป

กลุ่มฝึกหลักสี่จะกลับมาทำการสอนทุกวันพฤหัสบดี เวลา 19.00-21.00
ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2556 เป็นต้นไป

รายละเอียด http://laksi.bujinkan-thailand.com/

Posted in ข่าวจากโรงฝึก | Tagged | Leave a comment

หัวข้อการฝึกประจำปี 2013 เคน (Ken)

 

หัวข้อการฝึกปีนี้ เป็นดาบที่เก่าแก่ของญี่ปุ่นที่เรียกว่า เคน (Ken)
เป็นดาบตรงคมสองด้านแบบกระบี่จีน เข้ามาในยุคแรก ๆ ของญี่ปุ่น

ซึ่งเท่ากับว่าบูจินกันได้มีหัวข้อการฝึกครบสำหรับดาบสามแบบแล้ว คือ
เคน(Ken), ทาชิ(Tachi) และ คะตะนะ (Katana)

64710_518188121564604_583070189_n

 

 

 

Posted in บทความ | Tagged | Leave a comment

งานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2013

ผ่านพ้นไปอีกปีสำหรับงานปีประชุมใหญ่เหมือนกับทุกปี
สพหรับปีนี้ก็ยังอุ่นหนาฝาคั่งกันเช่นเคย สมาชิกเก่าก็เก่งขึ้นตามประสบการณ์
และขอต้อนรับน้องใหม่ที่เพิ่งเข้ามาร่วมฝึกในปีนี้ครับ

66762_10151200462989227_2088164343_n

165847_10151200953739227_273438385_n

531190_10151200435454227_1450205564_n

557281_10151200599294227_2133633086_n

 

 

Posted in ข่าวจากโรงฝึก | Tagged , | Leave a comment

ภาพยนตร์ชิโนบิโนะโมโนะ และ จิไรยะ

สำหรับภาพยนตร์ในญี่ปุ่นนั้น ไม่เหมือนภาพยนต์ในบ้านเราที่ฉากแอ็คชั่นมักให้ฝ่ายคิวบู๊

ที่ไม่มีความรู้เรื่องศิลปะการต่อสู้มาแสดงทำให้หลาย ๆ ครั้งฉากที่ออกมาเป็นที่น่าตลกขบขัน
กับคนที่ฝึกศิลปะการต่อสู้จริง ๆ แต่ในญี่ปุ่นนักให้ผู้มีความเชี่ยวชาญก็คือนักศิลปะการต่อสู้จริง
เป็นที่ปรึกษา ดังนั้นเราจะเห็นว่าภาพยนตร์ญี่ปุ่นส่วนมากจะใช้นักศิลปะการต่อสู้จริง ๆ มาเป็นที่ปรึกษา
หลายเรื่องย้อนยุคเกี่ยวกับซามูไรทั้งหลายถึงได้มีความสมจริงมาก

image

Credit : : ภาพจากหนังสือ Martial art of The world

หนังเกี่ยวกับวิชานินจาเองก็เหมือนกัน ตั้งแต่อดีต ต้นยุค 60หนังเรื่อง ชิโนบิ โนะ โมโนะ
ผู้กำกับของหนังเรื่องดังกล่าวได้โทรเข้ามาขอก็ได้มาขอคำแนะนำจากอาจารย์มาซึอะกิ
และได้เข้าพบกับอาจารย์ทากามัสซึ โทชิสุกุ และ อาจารย์มาซาอะกิ ฮะซึมิ เพื่อปรึกษาที่จะทำหนังที่สมจริงขึ้นมา
โดยได้รับเป็นที่ปรึกษาทางด้านเทคนิคการต่อสู้ด้วย ซึ่งหนังเรื่องนี้เองก็กลายเป็นหนังเกี่ยวกับนินจา
ที่โด่งดังที่สุดเรื่องหนึ่งในอดีตของญี่ปุ่น แต่สิ่งที่คนทั่วไปไม่ทราบกันก็คือตัวแสดงในเรื่องนี้
ที่เป็นนินจาที่โด่งดังชื่อ Momochi Sandayu ก็ใช้ต้นแบบมาจาก อาจารย์ทากามัสซึ นี่เอง
ไม่ใช่เฉพาะการแสดงด้านการต่อสู้ แต่รวมถึงแนวทางการใช้ชีวิตที่นำมาใช้ในภาพยนตร์อีกด้วย

smn

โดยประวัติของอาจารย์มาซึอะกิ เองก็จบการศึกษาในด้านการแสดง และ รักในการแสดง
ท่านเคยได้บอกไว้ว่าการแสดงเป็นส่วนสำคัญของการเป็นนินจา นินจาในอดีตจะต้องแปลอมแปลงตัวไป
ในที่ต่าง ๆ ผู้ที่ไม่สามารถแสดงบทบาทต่าง ๆ ได้ดีก็ไม่สามารถเป็นนินจาที่ดีได้
ด้วยเหตุผลนี้นี่เองจึงได้มีละครทีวีสำหรับเด็กในเรื่อง เซไก นินจา เซน จิไรยะ ขึ้น
เนื่องจากทางผู้กำกับได้เข้ามาขอร้องให้อาจารย์ช่วย จึงไดตัดสินใจเข้าร่วมในละครชุดนี้
ในเรื่องนี้นอกจากอาจารย์จะแสดงด้วยตนเองแล้ว
ยังใช้ชื่อของสำนักในเรื่องนี้ด้วย โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การสื่อไปที่เด็ก ๆ ที่ดูละครดังกล่าว
เนื่องจากในละครเกี่ยวกับนินจาส่วนมาก มักให้จินตนาการเกี่ยวกับนินจากับเด็กแบบผิด ๆ
โดยเฉพาะภาพพจน์ของนักฆ่า และ ความก้าวร้าว โดยคราวนี้พยายามให้เกิดความสมจริงมากขึ้น
ให้ความรู้ว่านินจาจะอยู่ได้อย่างไรในสถานการณ์ปัจจุบัน (เช่น บ้านอยู่บนตึก อยู่ในเมือง)
แสดงออกถึงความเป็นผู้ที่รักความสงบสุข ความถูกต้อง และความยุติธรรม
และพยายามให้เห็นถึงวิชานินจุสสุเบื้องต้นว่าเป็นอย่างไรให้กับเด็กๆ เห็นชัดเจน
สำหรับละครเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ประสบความสำเร็จมากทีเดียว

jya

เราสามารถเปรียบเทียบละครเรื่องนี้กับภาพยนตร์ของทางฝั่งอเมริกาหลาย ๆ เรื่องได้
น่าแปลกคือภาพยนตร์จากประเทศอื่น ๆ มักใช้จิตนาการ กับเรื่องของนินจามากกว่าที่จะเป็นจริงในปัจจุบัน
เช่น โรงฝึกมักต้องอยู่กลางป่า ฝึกยืนข้างดาวกระจาย เวลาจะต่อสู้ต้องเข้าป่า หรือ ดาบนินจาจะต้องตรง ซึ่งผิดกับความเป็นจริงในสมัยนี้

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ของอาจารย์ที่ต้องการเผยแพร่วิชาที่ถูกต้องให้กับคนรุ่นหลัง
โดยกุโศลบายเลือกสื่อที่เหมาะสม ในที่นี้ก็คือเด็ก ๆ นั่นเอง ในอดีตอาจารย์เองก็เคยทำหนังสือแนะนำวิชานินจา
สำหรับเด็กขึ้นมาโดยใช้สื่อคือการ์ตูนที่เข้าถึงเด็ก ๆ ได้โดยง่ายนั่นเอง

ด้วยความนับถือจากทางผู้กำกับของญี่ปุ่น ต่อ ๆ มาก็มีภาพยนตร์หลายเรื่องที่มา
เชิญอาจารย์มาซึอะกิไปร่วมแสดงแต่ทั้งหมดโดนปฏิเสธ แต่ก็มีบางเรื่องที่ได้เข้าไปเป็นที่ปรึกษาเบื้องหลังบ้าง
(อย่างหลายปีก่อนก็มีมาเชิญไปแสดงเรื่องมิโตะ โกมอน ซึ่งอาจารย์ปฏิเสธไป ซึ่งผมเองยังเสียดายเพราะอยากเห็น)

 

Posted in บทความ | Tagged , , | Leave a comment

เรียนบูจินกันจากวีดีโอได้ไหม?

 

เนื่องจากได้รับเมล์สอบถามจากบางคน ว่าบ้านอยู่ไกลบ้าง เวลาไม่มีบ้างจะทำยังไงดี
เรียนจากวีดีโอได้ไหม จึงมาขออธิบายตรงนี้ครับ คำตอบจริง ๆ คือ ไม่ได้ครับ
ปัจจุบันโรงฝึกบูจินกันเกือบทั้งหมดไม่ได้ให้มีการฝึกโดยดูจากวีดีโอเพียงอย่างเดียว
(แต่มีบางที่ทำ อันนี้จะไว้พูดถึงทีหลัง) สาเหตุที่ไม่ได้ให้มีการฝึกจากวีดีโอก็ง่าย ๆ ครับ
การนั่งดูวีดีโอ (หรือ แม้กระทั่งการนั่งดูในโรงฝึก) ไม่ได้เหมือนกับการได้ลงฝึกจริง ๆ

ยกตัวอย่างเช่น เวลาคนเชียร์ฟุตบอล คุณจะเห็นบางคนที่ตำหนินักบอลว่าทำไม่ทำอย่างนั้น
อย่างนี้ เลี้ยงลูกไม่ดีบ้าง ทำไมยิงไม่ตรงบ้าง หากถามว่าคนที่ตำหนิเนี่ยหากไปเตะฟุตบอลจริง ๆ
ต้องวิ่งในสนามตลอดเก้าสิบนาที หรือ ต้องทำอย่างที่กล่าวออกมาแล้วทำได้ไหม
นั่นคือคนละเรื่องกันเลย หรือ เวลาคนดูมวยเหมือนกัน บ่อยครั้งจะเห็นว่าการเชียร์ของคนในสนาม
กับคะแนนไม่สัมพันธ์กันก็เพราะสายตาของคนในสนามส่วนมากตามไม่ทันเกมส์
เช่นอีกฝ่ายต่อยติดบล๊อคก็เฮ เตะติดการ์ดก็เฮ แต่สำหรับคนที่ฝึกมาแล้วจะเห็นแตกต่างกันไป

การนั่งดูการฝึกก็เหมือนกัน เวลาคนนั่งดูวีดีโอโดยมากแล้วมักจะคิดว่าตนเองทำได้
ซึ่งจริง ๆ แล้วเกือบ 100% ทำไม่ได้หรอกครับ ดังนั้นถึงจะต้องมีการฝึกในโรงฝึก
ซึ่งปกติแล้วแม้จะมาฝึกในโรงฝึกจริง ๆ ผู้ฝึกส่วนมากจะทำไม่ได้อยู่ดี ในสายตาของผู้ที่ระดับสูงกว่า
ต้องอาศัยการฝึกซ้อมที่สม่ำเสมอผลของการฝึกถึงจะออกมาดีขึ้นเรื่อย ๆ
ดังนั้นเรื่องการฝึกด้วยวีดีโอ ไม่ต้องไปคิดถึงครับ ผลที่ได้คนละเรื่องกับการฝึกจริงอยู่แล้ว

จริง ๆ แล้วในโรงฝึกเองก็มีประสบการณ์ที่รับผู้ฝึกต่างชาติที่ฝึกด้วยวีดีโอด้วยตนเองมา
โดยเขาใช้เวลาฝึกอยู่สองสามปีก่อนที่จะย้ายมาในเมืองไทย ผลที่ได้เมื่อมาเมืองไทยคือ
ต้องมาฝึกใหม่ทั้งหมดเหมือนผู้ฝึกปกติ เพราะ อย่างที่บอกครับวีดีโอไม่ได้ช่วยให้เราเข้าใจการฝึกได้จริง
ท่าที่มองเห็นกับการกระทำจริง ๆ ที่มีคู่ซ้อมนั้นแตกต่างกันมาก

แต่ทำไมอาจารย์ถึงผลิตหนังสือ หรือ ดีวีดีออกมา? จริง ๆ แล้วบรรดาสื่อต่าง ๆ เหล่านี้
จะเป็นเหมือนคู่มือให้กับผู้ที่ซ้อมปัจจุบัน เพื่อที่จะทำการทบทวนด้วยตนเอง
ไม่ได้เป็นสื่อที่จะสอนสำหรับผู้ฝึกใหม่ครับ ในสมัยก่อนเราจะเคยเห็นม้วนกระดาษ densho ที่บ้านเรา
มักเรียกว่าคัมภีร์ หรือ ม้วนวิชา ในวิชาต้่าง ๆ หากเปิดดูจริง ๆ แล้วคุณอาจจะเห็นเพียงข้อความสั้น ๆ
เช่น รายการชื่อท่าของสำนักนั้น ๆ สามสิบกว่าท่าว่ามีอะไรบ้าง ท่ากาต้าต่าง ๆ โดยไม่มีคำอธิบายอะไร
เนื่องจากสมัยก่อนกระดาษเป็นของฟุ่มเฟือย และ การรักษาวิชาตนเองไว้ให้กับผู้ที่ฝึกเท่านั้นมีความสำคัญ
ผู้ที่ควรรู้เช่นคนที่ฝึกมาก็จะอ่านแล้วรู้เรื่อง คนนอกเห็นก็ไม่ได้เข้าใจ ตัววีดีโอในปัจจุบันก็เช่นกัน
เรียกได้ว่า เป็นคัมภีร์สมัยใหม่ในยุคใหม่ จะไปเขียนลงม้วนกระดาษก็เสียเวลา
จึงได้จัดทำเป็นวีดีโอขึ้นมา แต่เนื้อหายังเหมือนเดิมคือ โดยมากจะเป็นลิสต์ของท่า และ กาต้า
แต่ไม่ได้หมายถึงให้ก้อปปี้ท่าจากวีดีโอนั้นไปใช้ ดังนั้นผู้ที่ฝึกมาจริง ๆ ถึงจะดูแล้วเข้าใจความหมาย
ของวีดีโอต่าง ๆ ในระดับต่างกัน ผู้ฝึกมาระดับพื้นฐานจะเห็นอย่างนึงผู้ฝึกระดับสูงก็เห็นอย่างนึง

โดยปกติแล้วผมจะบอกบรรดาผู้ฝึกในโรงฝึกว่า วีดีโอใน youtube ทั้งหลายนั้น ผมไม่แนะนำให้ดูเท่าไร
สาเหตุเพราะไม่ค่อยมีตัวอย่างที่ดี ๆ ดู คนที่เก่ง ๆ ก็ไม่ค่อยเอามาลง คนที่เอามาลงส่วนมากก็ยังไม่ดีพอ
เพราะคนที่เก่ง ๆ บรรดาครูฝึกระดับสูงทั้งหลาย ไม่ค่อยมีความจำเป็นที่ต้องเอามาลงยูทูป
แต่อีกพวกเอามาลงเพื่อหวังผลในการตลาดมากกว่าครับ บางทีเลยได้เห็นท่าประหลาด ๆ ออกมาบ้าง
จากวีดีโอพวกนี้ เนื่องจากตัวผู้ทำวีดีโอยังไม่ได้อยู่ในระดับที่เข้าใจในตัววิชาพอครับ

ดังนั้นหากคุณไม่สามารถมาเรียกได้ เพราะว่า ไกล หรือ เวลาไม่มี ตอนนี้ไม่มีทางเลือกอื่นครับ
คุณต้องเหนื่อย หรือ หาเวลาหน่อย ส่วนมากคนที่มาฝึกจริง ๆ ไม่ค่อยบ่นเรื่องสองเรื่องข้างต้น
ทั้ง ๆ ที่บางคนเวลาไม่มี และ เดินทางไกลมากครับ(มากกว่าคนที่บอกว่ามาไม่ได้)

 

 

 

 

 

 

Posted in บทความ | Tagged , , | Leave a comment

Update จากญี่ปุ่น ธันวาคม 2012

 

ในเดือนพ.ย.นี้ ผมก็ได้มีโอกาสกลับมาญี่ปุ่นอีกครั้งหลังจากครั้งก่อนเมื่อประมาณ เดือน ก.พ. ปีที่แล้ว
เป็นประจำทุกปีที่ต้นเดือนธันวาคม จะมีการจัดการประชุมใหญ่ที่เรียกว่า Daikomyosai
ในปีนี้ก็มีการจัดงานเช่นเคย โดยมีผู้ฝึกจากทั่วโลกโดยเฉพาะผู้ฝึกระดับสูงมาชุมนุมกัน

12628_10151211283829024_778591683_n

ในปีนี้อาจารย์มาซึอะกิที่ปัจจุบันอายุมากกว่า 80 ปีแล้ว ยังคงมีสุขภาพแข็งแรง
มือหนักเหมือนเดิม (โดนมาด้วยตัวเองทุกปี) และ ยังแสดงความน่าทึ่งในการสอนเหมือนเดิม
ส่วนอาจารย์ชิราอิชิก็อายุย่างเข้าเจ็ดสิบปีแล้ว แต่ก็ยังเป็นอุเคะให้อาจารย์มาซึอะกิอยู่

ในบางครั้งก็รู้สึกน่าทึ่งว่า ทั้ง ๆ ที่ผู้ฝึกจากทั่วโลกในระดับผู้ฝึกสอนทั้งหลายที่ฝึกมาเป็นเวลายาวนาน
ก็ยังไม่สามารถตามทักษะของอาจารย์ได้ทันเหมือนตอนฝึกหัดใหม่ ๆ เช่นเดิม
แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ผู้ฝึกทั้งหลายมีการพัฒนาตนเองขึ้นมาแล้ว
แต่อาจารย์เองก็พัฒนาขึ้นไปอีกขั้นเช่นกัน

การประชุมใหญ่ครั้งนี้อาจารย์ได้ประกาศว่า
ตอนนี้บูจินกันมีสายดำขั้นสิบห้า 330 คน มีชิโดชิ(ขั้นห้าขึ้นไป) 3300 คน
และมีผู้ฝึกทั่วโลกกว่าสามแสนคน

ในการฝึกครั้งนี้อาจารย์ยังได้นำดาบหายากอย่าง มาซามุเนะ มาแสดงให้ดูด้วย

สำหรับปีที่จะมาถึงนี้ ทางโรงฝึกอาจจะมีข่าวดีหลายเรื่อง
เรื่องแรกคือ ผู้ฝึกจากโรงฝึกประเทศไทย ได้รับโปรโมทเพื่อเป็น Shidoshi-ho
จำนวนหนึ่งคน คือ คุณณัฐธีร์ ที่เข้าฝึกในโรงฝึกประเทศไทยมายาวนานมากกว่าสิบปี
และจะมีโอกาสได้สอบเพื่อเลื่อนเป็น ชิโดชิ เมื่อเดินทางมาญี่ปุ่น

ส่วนอีกเรื่องคือ อาจจะมีกลุ่มฝึกใหม่ เปิดเร็ว ๆ นี้ โดยน่าจะมีความสะดวกในเรื่องเดินทางพอสมควร
สะดวกเพียงพอให้สามารถฝึกหลังเลิกงานได้ครับ ขอให้รอประกาศเร็ว ๆ นี้อีกครั้ง
 

 

 

Posted in ข่าวจากโรงฝึก | Tagged , , | Leave a comment

งดรับสมาชิกเข้าฝึกใหม่วันที่ 23 ธันวาคม 2555 เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมต้อนรับปีใหม่

เหมือนปกติของทุกปีที่ทางโรงฝึกมีการประชุมใหญ่ปลายปีและจัดกิจกรรมต้อนรับปีใหม่
ของดรับสมาชิกเข้าฝึกใหม่วันที่ 23 ธันวาคม 2555 เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมต้อนรับปีใหม่(ไม่มีการฝึกพื้นฐาน)
และ ขอเชิญสมาชิกโรงฝึกปัจจุบันเข้าร่วมฝึก ทำกิจกรรมประจำปี ตั้งแต่เวลา 12.00 เป็นต้นไป
Posted in ข่าวจากโรงฝึก | Leave a comment

งดฝึกวันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม เนื่องจากตึกปิดวันหยุดปีใหม่

ประกาศ

โรงฝึกงดฝึกวันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม เนื่องจากตึกปิดระหว่างวันหยุดปีใหม่
สามารถฝึกตามปกติได้ในสัปดาห์ต่อ ๆ ไปตามปกติ

Posted in ข่าวจากโรงฝึก | Leave a comment