ภาพจากกิจกรรมอบรมการป้องกันตัวเนื่องในวันแม่แห่งชาติ 2558

ประมวลภาพจากกิจกรรมอบรมการป้องกันตัวเนื่องในวันแม่แห่งชาติ
วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2558

11846643_10152898188556784_894387676919013137_n 11794339_10206613209983998_8153769657570513298_o

11831700_10152898179881784_2163601855951059484_n  11059653_10152898178706784_2868547334112694238_n 11828551_10152898177636784_3813156728616118925_n 11061244_10152898175891784_8306414487601040760_n 11866410_10152898175791784_1235134196412502749_n 11265153_10152898173201784_7730383130771905766_n 10985389_10152898173331784_8830285764399487770_n 11825705_10152898173146784_6769556811221590648_n 11836729_10152898172931784_5403838375327165840_n 11817122_10152898172886784_9057063387460350673_n 11813354_10152898171861784_5053692207664637260_n  11221643_10152898173481784_1578594420353912315_n 11824930_10152898171671784_2204581049961354063_n 11828822_10152898171356784_3308788411745554925_n 11816250_10206613374668115_3757042589000534483_o 11872171_10206613394108601_4756371445906721502_o 11816298_10206613207823944_2604511306316049434_o  11823065_10206613228224454_5643266148838450780_o

 

 

 

Posted in ข่าวจากโรงฝึก | Tagged , | Leave a comment

อาจารย์เอกได้รับประกาศนียบัตร Yushu shihan

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม 2015
ร.ท. เอก โอสถหงษ์ หัวหน้าโรงฝึกบูจินกันประเทศไทย
ได้รับประกาศนียบัตรตำแหน่ง Yushu shihan  จากอาจารย์มะซะอะกิ อะซึมิ
(Yushu ยูชู = 優秀 excellence, important;  Shihan ชิฮัน = 師範 master, model instructor)

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ก่อนหน้านี้ในโรงฝึกบูจินกัน ไม่มีตำแหน่งชิฮัน(ผู้สอนอาวุโส)อย่างเป็นทางการ
แต่จะมีแต่ตำแหน่งชิโดชิ ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้สอน เมื่อสอบผ่านสายดำระดับห้า
ประกาศนียบัตร Yushu Shihan เพิ่งเริ่มมีการให้เมื่อปี 2014
โดยเป็นตำแหน่งที่ได้รับเฉพาะสายดำระดับสิบห้าเท่านั้น
ถือเป็นตำแหน่งชิฮันอย่างเป็นทางการของบูจินกัน
การได้รับครั้งนี้จึงนับเป็นเกียรติสำหรับโรงฝึกบูจินกันประเทศไทยในการได้รับตำแหน่งในครั้งนี้

Posted in ข่าวจากโรงฝึก | Tagged , , | Leave a comment

อบรมศิลปะการป้องกันตัวสำหรับสุภาพสตรีโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เนื่องในวันแม่แห่งชาติ

เนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2558
โรงฝึกบูจินกันประเทศไทยจะจัดอบรมศิลปะการป้องกันตัวสำหรับสุภาพสตรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายสำหรับบุคคลทั่วไป เพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ

กิจกรรมในครั้งนี้จะทำการฝึกศิลปะการป้องกันตัวเบื้องต้น รวมทั้งแนวคิดเพื่อการป้องกันตัวแบบต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับสุภาพสตรี โดยใช้ทักษะในรูปแบบของโรงฝึกบูจินกัน

การอบรมจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 8 สิงหาคมนี้ เวลา 13.00 น. – 17.00 น.
ณ.ห้องฝึกชั้น 2 ตึกช้าง แยกรัชโยธิน

กิจกรรมนี้รับจำนวนจำกัดไม่เกิน 30 ท่าน ผู้ที่สนใจเข้าร่วมสามารถลงทะเบียนเข้าอบรมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0860068745 และ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ด้วยเบอร์เดียวกัน
(ไม่รับลงทะเบียนผ่านอินเตอร์เน็ต หรือ อีเมล์)

หากมีผู้ลงทะเบียนเต็มแล้วจะมีการประกาศอีกครั้งหนึ่ง

11696532_970282186355193_5449027319879039909_o

 

 

Posted in ข่าวจากโรงฝึก | Tagged , , | Leave a comment

เวปไซต์สำหรับโรงฝึกของสมาชิกทั้งสี่แห่งในประเทศไทย

จากเมื่อเดือนก่อน ๆ อาจารย์ได้ โพสต์ถึงสถานที่ฝึก บูจินกัน โดยสมาชิกโรงฝึกประเทศไทย
ที่ได้สอบผ่านการเป็นผู้ฝึกสอน ระดับชิโดชิ ไปแล้ว จากที่ทั้งสี่คนนั้นมีโรงฝึกของตนเอง ในตอนนี้ได้มีเวปไซต์เป็นของตนเองเป็นที่เรียบร้อย จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันอีกครั้งหนึ่ง

ผู้สนใจการฝึกในแต่ละสถานที่สามารถติดต่อโรงฝึกแต่ละที่โดยตรง

1. โรงฝึกสยามสแควร์: ซุยคิ โดโจ
เวปไซต์ http://bujinkan-suikidojo.com

11015102_919236951459717_4509258888280178499_n

2. โรงฝึกสมุทรปราการ: ฟูกิ โดโจ
เวปไซต์  http://www.bujinkan-samutprakan.com

11083927_919236954793050_4736500738487414243_n

 

3. โรงฝึกธนบุรี: องเกียวกิ โดโจ
เวปไซต์  http://bujinkan-thonburi.com

11024610_919236944793051_7144825653942550293_n

 

4. โรงฝึกหลักสี่: โอนิ โดโจ
เวปไซต์ http://bujinkan-onidojo.com

11133833_919236948126384_8488736442266236868_n

 

Posted in ข่าวจากโรงฝึก | Tagged , , , , | Leave a comment

สำหรับผู้สนใจเข้าฝึกบูจินกันที่อยู่ต่างจังหวัด

เนื่องจากปัจจุบันโรงฝึกมีผู้สอนเยอะขึ้น และ หลายคนเดินทางไปต่างจังหวัดค่อนข้างบ่อย จึงอาจเป็นโอกาสอันดีที่จะสามารถจัดสัมมนาฝึกบูจินกัน บูโด ไทจุสสุ ในต่างจังหวัดได้ อย่างเช่นที่อาจารย์เคยทำมาในอดีต

สำหรับผู้สนใจร่วมฝึก บูจินกัน บูโด ไทจุสสุ ในต่างจังหวัด สามารถกรอกข้อมูลส่วนตัวทิ้งไว้ เพื่อใช้การติดต่อกลับ เมื่อมีการจัดสัมมนาฝึกในพื้นที่หรือพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ลงชื่อสนใจเข้าฝึกจำนวนมากพอในพื้นที่นั้น ๆ

>> LINK << ลงชื่อที่นี่ 

เนื่องจากในอดีตมีปัญหาที่ว่าผู้สนใจลงชื่อไว้แล้ว แต่เมื่อจัดฝึกกลับมีคนมาจริงไม่กี่คน (ลงชื่อยี่สิบคน มาเพียงห้าหกคน) จึงขอความร่วมมือลงชื่อเฉพาะผู้ที่สนใจจริงนะครับ ขออีเมล์ที่สามารถติดต่อได้จริง เพราะ โรงฝึกจะไม่ติดต่อผ่านโทรศัพท์ครับ

(หากพื้นที่ใดที่มีโอกาสฝึกสม่ำเสมอและมีผู้เข้าฝึกสม่ำเสมอ ก็อาจจะสามารถเปิดกลุ่มฝึกได้ในอนาคตต่อไป)

Posted in ข่าวจากโรงฝึก | Leave a comment

จากอาจารย์ เม.ย. 2015 : ยินดีต้อนรับชิโดชิใหม่

สำหรับเดือนที่ผ่านมาเรามีข่าวดีสำหรับโรงฝึกประเทศไทย คือ มีการเลื่อนสายดำในระดับสูงขึ้นสำหรับผู้ฝึกขั้นสูง คือ ระดับที่ห้าเป็นหกเพิ่มหนึ่งคน และ ได้ผู้ได้รับระดับห้าเป็นชิโดชิใหม่เพิ่มขึ้นอีกสี่คน ตามที่ประกาศไปเมื่อครั้งที่แล้ว นับเป็นข่าวดีที่รอกันมานานสำหรับอาจารย์เองที่ได้มีสมาชิกในระดับชิโดชิเพิ่มขึ้นอีก ในการสอบคราวนี้มีขึ้นที่โรงฝึกโตเกียวบุโดกัง ที่เมืองอะยะเสะ ประเทศญี่ปุ่น สมาชิกทั้งสี่สามารถสอบผ่านการทดสอบ Sakki test ของบูจินกันไปได้อย่างเต็มภาคภูมิ จนได้รับการปรับขึ้นสู่สายดำระดับห้าและรับตำแหน่งชิโดชิอย่างเต็มตัว

หลังสอบมีทั้งอาจารย์ชาวญี่ปุ่น และ ชาวต่างชาติหลายคนเข้ามาแสดงความยินดีกับผมในฐานะผู้สอน สำหรับผมซึ่งเป็นผู้สอนแล้ว สิ่งที่น่าภูมิใจในครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องที่สมาชิกของโรงฝึกสอบผ่าน แต่เป็นเรื่องที่สมาชิกของโรงฝึกได้พิสูจน์ตัวเองว่ามีความเหมาะสมในสายที่ตนได้รับได้ในระดับสากล เป็นการหยั่งรากให้ลึกขึ้นของวิชาบูจินกัน บูโด ไทจุสสุในประเทศไทย ซึ่งสามารถบอกได้ว่าเรามาถูกทางแล้ว โดยอาจารย์มาซะอะกิเองก็พอใจกับผลที่ได้

อาจารย์มาซะอะกิมักจะเน้นย้ำกับผมให้หา”คนที่ดี” เข้าฝึกวิชาบูจินกัน นินจุสสุ ซึ่งการพิสูจน์ตัวเองของแต่ละคนนั้นผ่านเวลามาอย่างยาวนานมาก เพราะ การสอบชิโดชิจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกอยู่ในสายดำระดับสี่แล้ว ซึ่งหมายความว่าจากเริ่มฝึกครั้งแรกจนถึงการสอบมีเวลาในการฝึกมานานมาก ในบูจินกันถึงแม้จะให้สายค่อนข้างเร็วเมื่อเทียบกับหลายวิชา เพราะไม่จำกัดเวลาในการครองสายโดยจะขึ้นกับความสามารถไม่ใช่เวลา เพราะ เป็นการฝึกให้ขั้นในแบบสมัยโบราณที่คนมีอายุไม่ยืนกันนักเนื่องจากต้องออกรบแต่ยังหนุ่ม แต่ถึงอย่างงั้นแล้วในระดับที่จะสอบนี้สายดำขั้นที่ห้าอย่างน้อยต้องฝึกมาประมาณแปดถึงเก้าปี  ซึ่งในระยะเวลาที่ยาวนานที่ผ่านมานี้ย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะคงการฝึกไว้ได้อย่างสม่ำเสมอ เป็นระยะเวลานานพอที่จะเปลี่ยนจากเด็กที่เรียนมัธยมต้นกลายเป็นจบมหาวิทยาลัยกลายเป็นผู้ใหญ่ จากหนุ่มสาวมหาวิทยาลัยที่มีอิสระในการใช้ชีวิตก็กลายเป็นผู้มีภาระติดตัวมีลูกมีครอบครัว เป็นเหตุที่ให้ทำให้คนฝึกส่วนมากไม่สามารถมาถึงจุดนี้ได้โดยง่าย โดยเฉพาะถ้าไม่มีความรักในการฝึกจริง จะไม่สามารถแบ่งเวลาอย่างเหมาะสมทั้งเรื่องการฝึกและการใช้ชีวิต อีกทั้งเวลาที่ยาวนานที่ถูกฝึกฝนทำให้คนมีโอกาสออกนอกลู่นอกทางกันได้ง่าย ทั่วโลกมีคนจำนวนมากที่เริ่มต้นแบบถูกต้อง แต่พอภายหลังก็หลุดกรอบไปก็เยอะ คนจำนวนมากอยากได้ทางลัดที่รวดเร็วกว่านี้ เช่น เพื่อจะให้ตนสามารถสอนได้แทนที่จะมาตามลำดับขึ้นจนถึงขั้นที่เหมาะสม ก็เลยยกตัวเองเป็นครูเองเปิดวิชาใหม่เองเลยง่ายกว่า

สำหรับการขึ้นสู่ระดับสายดำขั้นห้าในบูจินกันมีความพิเศษ ไม่ใช่การเลื่อนสายตามปรกติ แต่เป็นการเลื่อนขึ้นเพื่อรับตำแหน่งชิโดชิ ซึ่งสามารถเป็นผู้สอนวิชาบูจินกันได้อย่างเต็มตัว ชิโดชินั้น คือ การเปิดประตูบานใหม่ของผู้ฝึกระดับสายดำ สู่การใช้ชีวิตในแบบ Bufu Ikkan หรือ การใช้ชีวิตบนเส้นทางของศิลปะการต่อสู้ การทดสอบนั้นมีขึ้นก็เพื่อให้ได้รับรู้ถึงสิ่งที่ยังไม่รู้ เพื่อเปิดหูเปิดตาผู้ฝึกเข้าสู่ระดับของการฝึกอีกขั้นหนึ่ง เพื่อที่จะได้พัฒนาเป็นชิโดชิ (ผู้ชี้ทาง) ที่เหมาะสมต่อไป

สำหรับผู้ฝึกศิลปะการต่อสู้การขึ้นสู่ระดับของครูอาจารย์ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในโรงฝึกที่เข้มงวดอย่างในวิชาการต่อสู้โบราณของญี่ปุ่น การฝึกฝนไม่ได้ดูเฉพาะเรื่องฝีมือเวลาฝึก แต่จะรวมถึงความรู้ ความสามารถ จิตใจ คุณธรรม และ จริยธรรม ที่เหมาะสมอีกด้วย แตกต่างจากวิชาศิลปะการต่อสู้สมัยใหม่ (เก็นได) ส่วนมากที่ใช้การสอบเพื่อวัดความสามารถของผู้ฝึก แต่ในบูจินกันไม่มีการสอบแบบนั้นแต่ตัวครูจะต้องเป็นผู้พิจารณาและประเมินลูกศิษย์ในทุก ๆ ด้าน และ ถือเป็นความรับผิดชอบของนักเรียนเองที่จะปฏิบัติตนให้ถูกต้อง โดยเมื่อลูกศิษย์สามารถพิสูจน์ตนเองว่าสามารถขึ้นสู่ระดับที่สูงขึ้นได้ก็จะได้ ก็เป็นความรับผิดชอบของครูที่จะพิจารณารับรองลูกศฺษย์ตนเองในการเลื่อนสายต่อไปเนื่องจากในมุมมองของศิลปะการต่อสู้โบราณนั้นการไว้วางใจที่จะให้ลูกศิษย์ขึ้นมาเป็นผู้สืบทอดเป็นครูนั้นเป็นสิ่งอันตราย เพราะ ความรับผิดชอบการเป็นครูในวิชาศิลปะการต่อสู้แตกต่างจากวิชาอื่น ๆ เนื่องจากเป็นการสอนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของคนอื่น ๆ  ทั้งตัวลูกศิษย์เอง และ บุคคลที่สาม ศิลปะการต่อสู้นั้นจะมองการสอนว่าไม่ใช่การสอนเพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง เข้าสังคม หรือ สอนเป็นกีฬาเพื่อสุขภาพ แต่เป็นการสอนเพื่อการเอาตัวรอด เพื่อชีวิต หากนำไปสอนกันแบบผิด ๆ ต่อไปแล้วการสอนผิดพลาดนั้น สามารถทำให้ลูกศิษย์รุ่นต่อ ๆ ไปมีความผิดพลาดที่ถึงกับชีวิตได้

สำหรับตัวผมเองได้เห็นพัฒนาการของแต่ละคนมาตั้งแต่เริ่มต้นเข้าประตูโรงฝึกครั้งแรก เข้าเริ่มเป็นสายขาวจนกระทั่งได้รับสายดำแต่ละระดับสูงขึ้นมาเรื่อย ๆ ทุกคนจะได้ผ่านการทดสอบในแต่ละขั้น ทำให้ได้เห็นช่วงที่ดีและแย่ของแต่ละคน เห็นวิธีการจัดการกับตัวเองของแต่ละคน เมื่อแต่ละคนผ่านพ้นภาวะนั้นมาได้ สามารถแก้ไขส่วนที่บกพร่องมาได้ ก็จะเข้าสู่การฝึกระดับที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ  จนถึงจุดที่เหมาะสมกับการสอบเพื่อเป็นชิโดชิได้ เหมือนที่อาจารย์มาซะอะกิได้เคยสอนไว้ในบทความเรื่อง คิฮอน แฮปโปว่า นักศิลปะการต่อสู้นั้นไม่มีจุดสิ้นสุดในการฝึกฝนตัวเอง การที่จะขึ้นสู่ระดับที่สูงขึ้นได้จริง ๆ ก็คือการลดข้อผิดพลาดของตัวเองออกไป ซึ่งฟังดูเหมือนง่ายแต่จริง ๆ แล้วทำได้ยากมากเพราะมนุษย์มักจะคิดว่าตัวเองไม่มีข้อผิดพลาด จนทำให้คนส่วนมากย่ำอยู่กับที่จนกว่าจะยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเองเสียก่อน

การเลื่อนสายในครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จของผู้ฝึกทั้งสี่ โดยในปัจจุบันเราเพิ่งมีสมาชิกโรงฝึกห้าคนที่ขึ้นมาถึงจุดนี้ ซึ่งแต่ละคนกลับมาแล้วก็มีความรับผิดชอบในการดูแลกลุ่มฝึกของตนด้วย จึงน่ายินดีที่เราได้มีโรงฝึกอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นอีกถึงสี่โรงฝึก ขอให้ทุกคนได้ภูมิใจและพยายามก้าวหน้าต่อไป

Gambatte kudasai!

Nijiryu

Posted in ข่าวจากโรงฝึก | Tagged , , | Leave a comment

ประกาศงดฝึกช่วงสงกรานต์ 12 เมษายน 2558

สถานที่ฝึกตึกช้าง จะงดฝึกวันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน 2015
เนื่องจากตึกปิดในเทศกาลสงกรานต์ สัปดาห์ต่อไปทำการเปิดทำการฝึกตามปกติ

 

Posted in ข่าวจากโรงฝึก | Leave a comment

ฟูจิวะระ ฉิคาตะ

เนื่องในโอกาศได้รับตำแหน่งชิโดชิใหม่ของสมาชิกโรงฝึกอาจารย์มาซะอะกิได้มอบชื่อโรงฝึกเป็นภาษาญี่ปุ่นให้กับโรงฝึกทั้งสี่ โดยมีความหมายมาจาก เรื่องของ ฟูจิวาระ ฉิคาตะ ที่มีที่มาจากนิยายปรัมปราของญี่ปุ่นในสมัยเฮอัน โดยตัวเรื่องเริ่มต้นที่ทางใต้ของจังหวัดอิกะ

ฟูจิวะระ ฉิคาตะ นำทัพเข้าต่อต้านทัพของพระจักรพรรดิ โดยมีปีศาจ หรือ ยักษ์ (โอนิ) สี่ตนเป็นผู้นำทัพ ได้แก่
1. คินกิ Kinki  ปีศาจทองหรือยักษ์ทอง ที่มีร่างกายคงกระพันสามารถต้านทานอาวุธของทหารได้ทุกอย่าง
2. ฟูกิ Fuuki  ปีศาจลมหรือยักษ์ลม ที่ใช้ลมเป็นอาวุธเข้าทำลายปราสาท
3. ซุยกิ Suiki    ปีศาจหรือยักษ์น้ำ สามารถควบคุมน้ำเข้าต่อสู้กับทหารได้
4. องเกียวกิ Ongyoki  ปีศาจหรือยักษ์ที่สามารถซ่อนตัวให้ไม่มีคนเห็น จนเข้าทำลายปราสาทของข้าศึกได้
นอกจากนั้นในการเล่าเรื่องบางครั้งยังมีการกล่าวถึงยักษ์อีกสองตนแทนปีศาจน้ำซุยกิ ได้แก่
– โดกิ ปีศาจหรือยักษ์ดิน
– คะกิ ปีศาจหรือยักษ์ไฟ
ในนิทานปรัมปรานี้กล่าวว่ายักษ์ทั้งสี่เป็นต้นกำเนิดของวิชานินจุสสุในเวลาต่อมา

 

สำหรับชื่อโรงฝึก ที่อาจารย์มาซะอะกิได้มอบให้โรงฝึกทั้งสี่ ได้แก่

1. โรงฝึกสยามสแควร์: ซุคคิ โดโจ
2. โรงฝึกสมุทรปราการ: ฟูกิ โดโจ
3. โรงฝึกธนบุรี: องเกียวกิ โดโจ
4. โรงฝึกหลักสี่: โอนิ โดโจ

 

Posted in บทความ | Tagged , , , | Leave a comment

ขอแสดงความยินดีกับชิโดชิคนใหม่ของโรงฝึกประเทศไทย และ การเปลี่ยนชื่อกลุ่มฝึก

ขอแสดงความยินดีกับ คุณณัฐธีร์ รุจิระชัยเวทย์ ที่ได้รับการเลื่อนสายเป็นสายดำระดับหก
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา
และ ขอแสดงความยินดีกับชิโดชิ(Shidoshi)คนใหม่ของโรงฝึกประเทศไทยสี่ท่าน ได้แก่

1. คุณกานต์ ศรีอรุณ (หัวหน้ากลุ่มฝึกสยามสแควร์)
2.คุณวิศิษฐ์ ชิตรันต์ (หัวหน้ากลุ่มฝึกสมุทรปราการ)
3.คุณเกรียงศักดิ์ เทพโยธิน (หัวหน้ากลุ่มฝึกธนบุรี)
4. คุณธีรวัฒน์ อิสสริยะกุล (หัวหน้ากลุ่มฝึกหลักสี่)

ที่ผ่านการทดสอบ Sakki test สำหรับสายดำระดับห้าที่ประเทศญี่ปุ่น

10403185_10152588273056784_20733000911695665_n

ในการเลื่อนสายครั้งนี้ทั้งหมดได้รับการเลื่อนฐานะเป็นชิโดชิ อย่างเต็มตัว
ทำให้สามารถเปิดสอนแบบโรงฝึกได้ จึงให้เปลี่ยนชื่อกลุ่มฝึก (shibu) ที่ดูแลอยู่ต่อไปนี้
เป็นโรงฝึก(dojo)

1. กลุ่มฝึกสยามสแควร์ เป็น โรงฝึกสยามสแควร์
2. กลุ่มฝึกสมุทรปราการ เป็น โรงฝึกสมุทรปราการ
3. กลุ่มฝึกธนบุรี เป็น โรงฝึกธนบุรี
4. กลุ่มฝึกหลักสี่ เป็น โรงฝึกหลักสี่

 

Posted in ข่าวจากโรงฝึก | Tagged , | Leave a comment

สวัสดีปีใหม่ 2558 จากผู้สอน

สำหรับปีนี้ขอสรุปเรื่องราวในโรงฝึกในปี 2557 ที่ผ่านมาดังนี้

ส่วนแรกคือเรื่องภายในบูจินกันจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อไม่นานมานี้หลังฝึกเสร็จที่ฮอมบูโดโจ อาจารย์มาซะอะกิ ได้เรียกผมไปทานอาหารกลางวันด้วย และ ได้กล่าวมอบหมายให้ช่วยดูแลเรื่องการฝึกในโซนอาเซียนเนื่องจากปัจจุบันโรงฝึกประเทศไทยเป็นกลุ่มฝึกที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคนี้ ซึ่งโดยหลัก ๆ อาจารย์อยากให้ซัพพอร์ตประเทศเพื่อนบ้านที่เพิ่งจะเริ่มมีการฝึก ซึ่งก็คงต้องคอยดูกันต่อไปว่าจะสามารถทำได้แค่ไหน ซึ่งปัจจุบันทางโรงฝึกเริ่มได้รับการติดต่อจากหลายประเทศเพื่อนบ้านเพื่อมาเข้าฝึกในประเทศไทย เมื่อเปิดประชาคมอาเซียนก็คาดหวังว่าจะได้รับความสะดวกมากขึ้น

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งก็คืออาจารย์เน้นย้ำว่าไม่ต้องหาคนฝึกมาเพิ่มจำนวนมากเพราะบูจินกันค่อนข้างโตพอแล้วทั่วโลก แต่ให้หาคนที่ดี ๆ มาฝึกจะดีกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจารย์เน้นย้ำกับผมมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา และ ทำให้เป็นแนวทางของโรงฝึกประเทศไทยที่ไม่ต้องการสร้างธุรกิจโรงฝึกขึ้น เราไม่ต้องการคนเข้าฝึกจำนวนมาก ๆ เพื่อให้ได้มีเงินเข้าโรงฝึก แต่ต้องการคัดเลือกผู้ที่สามารถฝึกและอยู่บนแนวทางการฝึกที่ถูกต้องได้มากกว่า

ในช่วงปลายปี อาจารย์มาซะอะกิประกาศให้สมาชิกช่วยนำหินจากประเทศตัวเองมาไว้ที่อนุสรณ์ของอาจารย์ทากามะซึที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นส่วนร่วมสร้างอนุสรณ์จากโรงฝึกทั่วโลก ทางโรงฝึกประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจากผู้ฝึกสายดำที่จัดหาก้อนหินจากประเทศไทย และ ส่งมาที่ญี่ปุ่นเพื่อนำมาเป็นส่วนร่วมกับอนุสรณ์นี้เป็นที่เรียบร้อยในปลายปีที่ผ่านมา

ข่าวสุดท้ายจากประเทศญี่ปุ่นก็ คือ ในปีนี้ฮอมบูโดโจ จะทำการย้ายสถานที่ไปที่โรงฝึกใหม่ใกล้ของเดิม เนื่องจากสถานที่เก่าจะมีทางรถไฟสายใหม่ตัดผ่าน โดยคาดว่าสถานที่ใหม่จะสร้างเสร็จเร็ว ๆ นี้

สำหรับข่าวในประเทศไทย ปัจจุบันนอกจากโรงฝึกหลักที่ตึกช้างแล้ว โรงฝึกบูจินกันประเทศไทยมีกลุ่มฝึกย่อยกระจายอยู่ 4 แห่ง คือ หลักสี่ ธนบุรี สมุทรปราการ และ ชลบุรี โดยมีสายดำที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลกลุ่มฝึก และเป็นหัวหน้ากลุ่มฝึกคอยดูแล ตอนนี้โรงฝึกได้สร้างสายดำระดับชิโดชิ 1 คน และ ระดับสายดำได้ถึง 21 คน เป็นสายดำใหม่ที่เพิ่งได้รับในปีนี้ 3 คน และ มีสายดำเก่าเลื่อนขั้นขึ้นในระดับสูงขึ้นตามความเหมาะสม

นอกจากนั้นปีที่ผ่านมาได้มีสมาชิกเดินทางมาฝึกที่ญี่ปุ่นเพิ่มเติม และ ได้รับเสียงชื่นชมในด้านความสามารถ การฝึก และ การปฏิบัติตัว ในระหว่างการเดินทางเข้าฝึกจากอาจารย์ในญี่ปุ่นหลายท่านได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถแสดงถึงมาตรฐานในการฝึกและเลื่อนสายของโรงฝึกประเทศไทยได้   

เรามีการริเริ่มให้มีการทดลองฝึกคลาสพื้นฐานให้กับเยาวชนที่อายุระหว่าง 12 – 15 ปี ที่กลุ่มฝึกธนบุรี และ ชลบุรี โดยจะทำการฝึกโดยเน้นด้านการสร้าความเข้าใจที่ถูกต้องในไทจุสสุ โดยเน้นเรื่องความปลอดภัยให้มากขึ้น โดยปูพื้นฐานเพื่อเข้าฝึกในคลาสปรกติต่อไปในภายหลัง ทำให้ปัจจุบันเริ่มมีผู้เยาวชนเข้าฝึกบ้างแล้ว

ในปีที่ผ่านมาโรงฝึกได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กับสมาชิกในหลายด้าน รวมถึงมีการจัดกิจกรรมภายนอกโรงฝึกในสถานที่ใหม่ คือ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งต่อไปคาดว่าจะเป็นสถานที่ ๆ จะจัดกิจกรรมในปีต่อ ๆ ไปด้วย

สำหรับในปีนี้ขอสมาชิกโรงฝึกตั้งแต่ฝึกฝนตัวเอง เพื่อที่จะพัฒนาตัวเองต่อไป

ร.ท. เอก โอสถหงษ์, (Nijiryu)
Jugodan, Bujinkan Thailand Dojo

 

 

 

Posted in ข่าวจากโรงฝึก | Leave a comment